เขียนโดย จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์
|
วันอังคารที่ 25 กันยายน 2012 เวลา 15:34 น. |
- ข้อพิจารณาสำหรับการนำไปอ้างอิง
- แนวทางเวชปฏิบัติเป็นแนวทาง (guideline) ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เป็นข้อมูลที่เผยแพร่ให้แก่บุคลากรสุขภาพเพื่อช่วยในการตัดสินใจ แต่ไม่ใช่มาตรฐานตามกฎหมายที่ต้องทำตามทุกอย่าง (gold standards) "โดยละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับการตัดสินใจของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่สภาวะใดสภาวะหนึ่งในขณะนั้น”
- ดังนั้น แนวทางเวชปฏิบัติที่จัดทำขึ้น จึงไม่ควรนำไปใช้ตัดสินการรักษาของแพทย์ที่แตกต่างออกไปว่าถูกหรือผิด เพราะในการดูแลรักษาผู้ป่วยมีปัจจัยทั้งจากตัวผู้ป่วยเอง สภาวะแวดล้อม หรือตัวแปรอื่น ที่มีผลทำให้แพทย์ทำการตัดสินใจให้การรักษาที่แตกต่างกันออกไปได้
- ในการนำแนวทางเวชปฏิบัติมาใช้นั้น ยังต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและสิทธิของผู้ป่วย การรักษาที่แตกต่างจากแนวทางที่แนะนำไว้ ต้องมีการเขียนเหตุผลไว้อย่างชัดเจน ร่วมกับการให้ข้อมูล และสรุปผลแนวทางการให้การรักษา ที่ได้ตกลงไว้กับผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้อง
- คัดลอกจาก..แนวทางการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ 9 ราชวิทยาลัยฯ พ.ศ. 2554
- อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, สุรจิต สุนทรธรรม บรรณาธิการ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน 2018 เวลา 08:57 น. |