ราชวิทยาลัยฯ
ราชวิทยาลัยฯ
คณะกรรมการราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2022 เวลา 10:08 น.

 

re-committee rcpt67-69

CM RCPT6769-re

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2024 เวลา 13:38 น.
 
กฎระเบียบราชวิทยาลัยฯ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์   
วันจันทร์ที่ 01 ตุลาคม 2012 เวลา 04:23 น.

แนะนำราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย (English Version)

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546

ระเบียบว่าด้วยสมาชิกแห่งราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2552

Top

ระเบยบวาดวยสมาชก Page_1

Top

 

rcpt member_formal-2

ระเบยบวาดวยสมาชก Page_3

ระเบยบวาดวยสมาชก Page_4

ระเบยบวาดวยสมาชก Page_5

ระเบยบวาดวยสมาชก Page_6

 

Top

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2017 เวลา 09:33 น.
 
แนะนำราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2012 เวลา 16:18 น.

alt

 

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

(ความเป็นมา การพัฒนา และบทบาทการศึกษาหลังปริญญาของอายุรแพทย์)

  • คำจำกัดความ "อายุรแพทย์"
  •      อายุรแพทย์ เป็นแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญในการวินิจฉัย รักษา และป้องกันโรคทางอายุรกรรม อันเป็นโรคหรือความผิดปกติของระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ด้วยการให้คำแนะนำ ยา และทำหัตถการที่จำเป็นในการวินิจฉัยและรักษาดังกล่าว รวมทั้งให้การสร้างเสริมสุขภาพ แก่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  •      วิชาอายุรศาสตร์ คือวิชาทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย และการรักษาด้วยยา เพื่อบำบัดโรคและความผิดปกติของระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

  •      ในประเทศไทยปัจจุบัน (พ.ศ. 2567) มีสาขา อนุสาขา และการฝึกอบรมเฉพาะด้านต่าง ๆ ทางอายุรศาสตร์ ดังต่อไปนี้

  •      1. สาขา อนุสาขา และการฝึกอบรมเฉพาะด้านที่ออกหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือประกาศนียบัตรในวิชาชีพเวชกรรม โดยแพทยสภา ได้แก่ สาขาตจวิทยา สาขาประสาทวิทยา สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา สาขาอายุรศาสตร์โรคเลือด อนุสาขาโภชนศาสตร์คลินิก อนุสาขาเวชบำบัดวิกฤต อนุสาขาเวชเภสัชวิทยาและพิษวิทยา อนุสาขาอายุรศาสตร์การนอนหลับ อนุสาขาอายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม อนุสาขาอายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด ด้านการทำหัตถการทางทรวงอกและหลอดลม ด้านการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในผู้ใหญ่ ด้านเลเซอร์และหัตถการทางผิวหนัง และด้านอายุรเวชพันธุศาสตร์

    •      2. อนุสาขาและการฝึกอบรมเฉพาะด้านที่ออกประกาศนียบัตรโดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ อนุสาขาประสาทวิทยาโรคลมชัก อนุสาขาประสาทวิทยาโรคหลอดเลือดสมองและการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง อนุสาขาสรีระไฟฟ้าหัวใจ อนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด อนุสาขาอายุรศาสตร์ผู้ป่วยนอก และอนุสาขาอายุรศาสตร์โรงพยาบาล

      • ชื่อวุฒิบัตร

      • • ชื่อเต็ม

             o (ภาษาไทย) วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์

             o (ภาษาอังกฤษ) Diploma of the Thai Board of Internal Medicine

        • ชื่อย่อ

             o (ภาษาไทย) วว. อายุรศาสตร์

             o (ภาษาอังกฤษ) Dip., Thai Board of Internal Medicine

        • คำแสดงวุฒิการฝึกอบรมท้ายชื่อ

             o (ภาษาไทย) วว. อายุรศาสตร์

             o (ภาษาอังกฤษ) Diplomate, Thai Board of Internal Medicine หรือ Dip., Thai Board of Intern Med


  • ความหมายของ "อายุรศาสตร์"
  •      อายุรศาสตร์เป็นศาสตร์ดั้งเดิมของกิจการแพทย์ไทย สมัยก่อนผู้เชี่ยวชาญทางสาขาวิชานี้ได้ร่ำเรียนจากต่างประเทศ จนกระทั่งแพทยสภาได้กำหนดให้มีการฝึกอบรมและสอบผู้มีความรู้ความชำนาญสาขาวิชาอายุรศาสตร์ในประเทศไทยขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2513 หลังจากนั้นจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมและสอบก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ นับว่าเป็นสาขาวิชาที่ที่มีผู้เชี่ยวชาญมาก และมีผลงานที่มีประโยชน์ต่อประชาชนและวิชาชีพ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ


กำเนิด "ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย"

  • ปี พ.ศ. 2526 ก่อตั้งวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย 
  • ปี พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระมหากรุณาให้ วิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้ชื่อว่า "ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย"
  • ปี พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
  • ปี พ.ศ. 2531 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน ทูลเกล้าถวายสมาชิกกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  • ปี พ.ศ. 2534 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
  • ปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
  • ปี พ.ศ. 2539 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
  • ปี พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
  • ปี พ.ศ. 2540 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงรับเป็นองค์ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
  • ปี พ.ศ. 2542 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปีนานาชาติของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในหัวข้อ Geriatric Medicine

 

  •      วิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 นับเป็นวิทยาลัยที่สองหลังจากการตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยซึ่งได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 กิจการของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากจนถึง พ.ศ. 2528 วิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมทรงรับวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อ "ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528

 

    •      ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้บริหารเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายครุยสมาชิกกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นสมาชิกราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยเป็นพระองค์แรกและเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2534 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกกิตติมศักดิ์เป็นพระองค์ที่ 2 ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์อีกพระองค์หนึ่ง แต่คณะกรรมการบริหารยังไม่ได้เข้าเฝ้าถวายพระอภิไธยสมาชิก พระองค์ท่านได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2539 ตามลำดับ นับเป็นเกียรติและมงคลสูงสุดที่ทรงมีพระเมตตาพระราชทานแก่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ มวลสมาชิกรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นกำลังใจสำคัญเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้สมาชิกของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ประกอบคุณงามความดีตามรอยพระยุคลบาทและเป็นการถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์ท่านสืบต่อไป


หน้าที่ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ที่กำหนดไว้เป็นทางการมี 11 ข้อดังนี้

  1. ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากแพทยสภาในการจัดการสอบเพื่อเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมทางอายุรศาสตร์
  2. กำหนดและควบคุมมาตรฐานทางวิชาการในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของอายุรแพทย์ในประเทศไทย รวมทั้งควบคุมดูแลความประพฤติและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสมาชิก
  3. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและแนะแนววิชาการทางอายุรศาสตร์
  4. จัดการประชุมทางวิชาการ การศึกษาต่อเนื่องและกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับสมาชิก
  5. เป็นศูนย์กลางการติดต่อและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและกิจกรรมอื่น ๆ กับสมาคมหรือชมรมต่าง ๆ ในวิชาชีพเวชกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  6. ส่งเสริมและผดุงเกียรติของสมาชิก
  7. ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันดีงามและความสามัคคีในกลุ่มอายุรแพทย์ระหว่างอายุรแพทย์กับแพทย์สาขาวิชาอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  8. จัดหาทุนและผลประโยชน์อื่น ๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของวิทยาลัยรวมทั้งเพื่อการศึกษา และการวิจัยในทางอายุรศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
  9. เผยแพร่ความรู้ทางอายุรศาสตร์อันจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนและแก่วิชาชีพเวชกรรม
  10. ออกระเบียบต่าง ๆ ของราชวิทยาลัย ทั้งนี้โดยไม่ขัดกับพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมและข้อบังคับของแพทยสภา
  11. รายงานกิจกรรมต่าง ๆ ต่อแพทยสภาเป็นครั้งคราวและเป็นประจำปี
  •  

ทิศทางองค์กรของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย 

 

  • ทศทางองคกร 67-69

 

 


 

OKRs ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ฯ วาระปีพุทธศักราช 2567-2569

มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ฯ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567

กำหนด Objectives and Key Results (OKRs) วาระปี พ.ศ. 2567 -2569 ดังนี้ ... (อยู่ระหว่างร่าง OKRs)

 

 



แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 05 กรกฏาคม 2024 เวลา 14:32 น.
 


July 2024
M T W T F S S
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 31 1 2 3 4

 

.

 

 
Follow us on     
© 2011-2024 THE ROYAL COLLEGE OF PHYSICIANS OF THAILAND (RCPT) All right reserved
View counter stats